วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

6 เหตุผล Alibaba ซื้อกิจการ Lazada มุ่งสู่การเป็น Amazon แห่งเอเชีย


Alibaba ยักษ์ใหญ่แห่ง E-Commerce ในจีนเพิ่งประกาศข่าวการควบรวมกิจการกับ E-Commerce อีกเจ้าที่ได้รับฉายาว่า Amazon ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง Lazada 

ด้วยเงินลงทุนถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ของวงการ E-Commerce ในเอเชีย





Lazada ก่อตั้งโดย Rocket Internet จากเยอรมนี ในปี 2012 ด้วยแนวคิดที่อยากจะทำเว็บไซต์ E-Commerce แนวเดียวกับ Amazon และ Alibaba แต่ Lazada เลือกทำในสิ่งทั้ง 2 เจ้าไม่ทำนั่นคือเจาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนหลายประเทศและมีช่องว่างให้เห็นแนวโน้มที่จะเติบโต Lazada เหมือนกระเป๋าที่รวมร้านค้าจากหลายประเทศไว้ภายใน แต่เติบโตได้ดีที่สุดในสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามดูเหมือนจะยังไม่ใช่เวลาสำหรับตลาดเทคโนโลยีด้วยปัจจัยหลายอย่าง



ต่อไปนี้เป็นเหตุผล 6 ข้อ ที่ Alibaba เลือกจับมือ Lazada ลุยตลาด Southeast Asia อย่างจริงจัง

1. Alibaba ถึงเวลาหาตลาดใหม่นอกจากจีน

Alibaba มีลูกค้าปีละกว่า 407 ล้านคนจากเว็บ Taobao และ Tmall ซึ่งนับเป็นสองเท่าของคู่แข่งอย่าง JD และ Amazon ในจีน ประชากรในจีนมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 785 ล้านคนและ Jack Ma ประกาศกลยุทธ์จะขยายพื้นที่อาณาจักรของ Alibaba ออกไปให้ครอบคลุมมากว่านี้อีก เพราะยังมีบางพื้นที่ในจีนเช่นตามชนบท หรือชานเมืองที่ผู้คนยังไม่เคยใช้บริการ E-commerce พร้อมทั้งจะเพิ่มศักยภาพทางการขนส่งเพื่อรองรับการเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลให้มากขึ้น

“Alibaba มีแผนจะขยายตลาดไปในพื้นที่ชนบทให้มากขึ้น เราหวังว่าจะพา E-commerce ไปสู่ทุกหมู่บ้านในจีน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลได้สัมผัสประสบการณ์แบบคนเมือง และขายสินค้าของพวกเขาไปยังเมืองต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย”

ด้วยจำนวนมหาศาลของประชากรชั้นกลางและประชากรที่อาศัยอยู่นอกเมืองของจีนทำให้ธุรกิจ E-commerce ในจีนเติบโตเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกตั้งแต่ Jack Ma เปิดตัว Taobao ในปี 2003 และเอาชนะ E-Bay จีนได้ การเทคโอเวอร์ Lazada ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่จะเพิ่มสีสันและความสดใหม่ให้บริษัท

ก่อนหน้านี้ Jack Ma เคยลงทุนกับบริษัท E-Commerce ในอินเดียคือ Paytm และ Snapdeal แต่การลงทุนใน Lazada ครั้งนี้ถือว่าเป็นการลงทุนข้ามชาติครั้งใหญ่ที่สุดของ Alibaba


2. การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางใน Southeast Asia

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรราว 618 ล้านคน มีชนชั้นกลางค่อนข้างน้อยในตอนนี้คือแค่ 190 ล้านคน หากนับจากผู้ที่มีรายได้ประมาณ 500 – 3,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคนภายในปี 2020 ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายถึงฐานลูกค้าของ Alibaba และ Lazada ก็จะเพิ่มขึ้นตามนั่นเอง ทั้งในแง่ของนักช้อป และพ่อค้าแม่ค้าที่นำสินค้ามาลงขายในเว็บไซต์



3. Lazada มีการเติบโตที่ดี

Lazada ถือว่าเป็น E-Commerce ที่เป็นผู้นำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทั้ง 6 เว็บไซต์ที่แยกกระจายตามแต่ละประเทศ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเว็บชั้นนำของประเทศนั้นๆ ก็ตาม Lazada มียอดขายถึง 433 เหรียญสหรัฐใน 6 เดือนแรกของปี 2015 (ข้อมูลล่าสุด) ซึ่งมากขึ้นเป็น 4 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะให้ถึง 1 พันล้านก่อนหมดปี 2015 ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 5.7 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลางปี 2014 ที่มีแค่ 1.4 ล้านคน นั่นอาจดูเป็นจำนวนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับที่ Alibaba มีอยู่ในมือ แต่ตัวเลขของการเติบโตต่างหากที่เป็นสิ่งที่ Alibaba สนใจ

Lazada เริ่มต้นธุรกิจตามรอยของ Amazon คือขายสินค้าของตัวเองในโกดังของตัวเอง ก่อนจะเริ่มเปิดให้มีร้านค้าอื่นๆ และแบรนด์เข้ามาวางสินค้าขายในเว็บไซต์ในแบบที่ Alibaba ทำ จนถึงตอนนี้ Lazada มีร้านค้ารวม 27,000 ร้านค้าจาก 6 ประเทศ

Rocket Internet ผู้ก่อตั้ง Lazada และ Web service ต่างๆ เคยทำผิดพลาดในการลงแข่งในตลาด Southeast Asia มาแล้วหลายครั้ง เช่น การพ่ายแพ้ของ Easytaxi เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ Uber และ Grabtaxi แต่สำหรับ Lazada ถือว่าพวกเขาทำได้ดีเลยทีเดียว สำหรับ Alibaba เองตลาดที่แข็งที่สุดดูเหมือนจะเป็นทางอินโดนีเซียที่ต้องต่อสู่กับ E-commerce เจ้าถิ่นอย่าง Tokopedia และ Matahari Mall กิจการใหม่ในเครือบริษัทของครอบครัวเศรษฐีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย

4. Lazada ฝ่าด่านหินของ Southeast Asia มาแล้ว


การทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย แล้วยิ่งเป็นธุรกิจบนภูมิภาคที่การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างเชื่องช้า รวมถึงปัจจัยแวดล้อมมากมายที่สร้างความหลากหลายในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การอยู่อาศัยของประชากรที่แบ่งแยกกระจายตัวบนพื้นที่นับพันเกาะ แต่ละพื้นที่มีภาษาของตัวเอง มีความหลากหลายทางด้านกฎหมาย วัฒนธรรม ภาษี การชำระเงิน วิธีการลดราคา ไปจนถึงการขนส่ง ไหนจะเรื่องความแตกต่างด้านประชากร และการเมืองการปกครอง บ้างเป็นประชาธิปไตย บ้างเป็นเผด็จการ รวมถึงวิธีการของการเกิดคอร์รัปชั่น แต่ละอย่างที่กล่าวมากทำให้ยิ่งยากในการเริ่ม E-commerce ในภูมิภาคนี้

แล้วยังมีเรื่องของความยากจนของประชากร การขนส่งหลักเป็นไปโดยทางรถยนต์และรถไฟ นั่นทำให้การซื้อของออนไลน์ช้าและแพง ผู้คนในบางพื้นที่ยังใช้การพายเรืออยู่เลยด้วยซ้ำ ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม E-commerce ส่วนใหญ่ไม่สามารถขยายครอบคลุมทั้งภูมิภาคได้ ส่วนมากจะอยู่แค่ในประเทศของตัวเองเท่านั้น เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นนั่นเอง

“อินโดนีเซียเป็นที่ที่การขนส่งค่อนข้างยากลำบากที่สุด นั่นทำให้ต้องมีการลงทุนสร้างระบบขนส่งของ Lazada ขึ้นมาเอง” Magnus Exbom Head ขอ Lazada Indonesia เคยกล่าวไว้

เขาบอกว่าระบบขนส่งในอินโดนีเซียไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Lazada ได้ นั่นทำให้บริษัทต้องมีศูนย์กระจายสินค้าและระบบขนส่งของตัวเองเพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นทั่วประเทศ ซึ่งใช้รถตู้และมอเตอร์ไซค์รวมนับพันคัน

5. ซื้อมาย่อมง่ายกว่าทำเอง

สิ่งที่กล่าวมาในข้อ 4 แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ Alibaba ไม่คุ้นเคย แม้จีนจะมีหลายชาติพันธุ์และจำนวนประชากรมหาศาล แต่ส่วนใหญ่พวกเขาก็พูดภาษาจีน ที่ผ่านมาสิ่งที่ Alibaba ต้องทำก็แค่สร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคนชันเพื่อครอบคนพันล้านคนไว้ด้วยกัน แถมยังสบายในเรื่องการขนส่งที่ระบบคมนาคมในจีนค่อนข้างดีและสะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งมีการแข่งขันสูงทำให้ราคาค่าขนส่งในจีนถูก

ดังนั้น หากจะแข่งกับ Lazada คงต้องใช้เงินเป็นพันล้านหรือมากกว่านั้นไม่รู้กี่เท่าในการทำตลาดข้าม 6 ประเทศแบบที่ Lazada ทำไว้ ซึ่งก็ไม่แน่นอนว่าเอาชนะ Lazada ได้ ดังนั้น ซื้อต่อดีที่สุด

6. ผู้ค้าชาวจีนมีโอกาสเปิดตลาดใหม่

การร่วมมือครั้งนี้เหมือนเป็นการเปิดประตูการค้าให้ผู้ค้าและลูกค้าหน้าใหม่มาเจอกันเพิ่มโอกาสในการค้าและเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น เมื่อเศรษฐกิจและการค้าในจีนเริ่มชะลอตัวผู้ค้าจาก Taobao และ Tmall ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ๆ กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ของพวกเขา ที่อาจสร้างรายได้ให้ได้อีกมหาศาล




6 เหตุผล Alibaba ซื้อกิจการ Lazada มุ่งสู่การเป็น Amazon แห่งเอเชีย


Alibaba ยักษ์ใหญ่แห่ง E-Commerce ในจีนเพิ่งประกาศข่าวการควบรวมกิจการกับ E-Commerce อีกเจ้าที่ได้รับฉายาว่า Amazon ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง Lazada 

ด้วยเงินลงทุนถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ของวงการ E-Commerce ในเอเชีย





Lazada ก่อตั้งโดย Rocket Internet จากเยอรมนี ในปี 2012 ด้วยแนวคิดที่อยากจะทำเว็บไซต์ E-Commerce แนวเดียวกับ Amazon และ Alibaba แต่ Lazada เลือกทำในสิ่งทั้ง 2 เจ้าไม่ทำนั่นคือเจาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนหลายประเทศและมีช่องว่างให้เห็นแนวโน้มที่จะเติบโต Lazada เหมือนกระเป๋าที่รวมร้านค้าจากหลายประเทศไว้ภายใน แต่เติบโตได้ดีที่สุดในสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามดูเหมือนจะยังไม่ใช่เวลาสำหรับตลาดเทคโนโลยีด้วยปัจจัยหลายอย่าง


ต่อไปนี้เป็นเหตุผล 6 ข้อ ที่ Alibaba เลือกจับมือ Lazada ลุยตลาด Southeast Asia อย่างจริงจัง

1. Alibaba ถึงเวลาหาตลาดใหม่นอกจากจีน

Alibaba มีลูกค้าปีละกว่า 407 ล้านคนจากเว็บ Taobao และ Tmall ซึ่งนับเป็นสองเท่าของคู่แข่งอย่าง JD และ Amazon ในจีน ประชากรในจีนมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 785 ล้านคนและ Jack Ma ประกาศกลยุทธ์จะขยายพื้นที่อาณาจักรของ Alibaba ออกไปให้ครอบคลุมมากว่านี้อีก เพราะยังมีบางพื้นที่ในจีนเช่นตามชนบท หรือชานเมืองที่ผู้คนยังไม่เคยใช้บริการ E-commerce พร้อมทั้งจะเพิ่มศักยภาพทางการขนส่งเพื่อรองรับการเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลให้มากขึ้น

“Alibaba มีแผนจะขยายตลาดไปในพื้นที่ชนบทให้มากขึ้น เราหวังว่าจะพา E-commerce ไปสู่ทุกหมู่บ้านในจีน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลได้สัมผัสประสบการณ์แบบคนเมือง และขายสินค้าของพวกเขาไปยังเมืองต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย”

ด้วยจำนวนมหาศาลของประชากรชั้นกลางและประชากรที่อาศัยอยู่นอกเมืองของจีนทำให้ธุรกิจ E-commerce ในจีนเติบโตเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกตั้งแต่ Jack Ma เปิดตัว Taobao ในปี 2003 และเอาชนะ E-Bay จีนได้ การเทคโอเวอร์ Lazada ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่จะเพิ่มสีสันและความสดใหม่ให้บริษัท

ก่อนหน้านี้ Jack Ma เคยลงทุนกับบริษัท E-Commerce ในอินเดียคือ Paytm และ Snapdeal แต่การลงทุนใน Lazada ครั้งนี้ถือว่าเป็นการลงทุนข้ามชาติครั้งใหญ่ที่สุดของ Alibaba


2. การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางใน Southeast Asia

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรราว 618 ล้านคน มีชนชั้นกลางค่อนข้างน้อยในตอนนี้คือแค่ 190 ล้านคน หากนับจากผู้ที่มีรายได้ประมาณ 500 – 3,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคนภายในปี 2020 ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายถึงฐานลูกค้าของ Alibaba และ Lazada ก็จะเพิ่มขึ้นตามนั่นเอง ทั้งในแง่ของนักช้อป และพ่อค้าแม่ค้าที่นำสินค้ามาลงขายในเว็บไซต์


3. Lazada มีการเติบโตที่ดี

Lazada ถือว่าเป็น E-Commerce ที่เป็นผู้นำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทั้ง 6 เว็บไซต์ที่แยกกระจายตามแต่ละประเทศ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเว็บชั้นนำของประเทศนั้นๆ ก็ตาม Lazada มียอดขายถึง 433 เหรียญสหรัฐใน 6 เดือนแรกของปี 2015 (ข้อมูลล่าสุด) ซึ่งมากขึ้นเป็น 4 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะให้ถึง 1 พันล้านก่อนหมดปี 2015 ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 5.7 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลางปี 2014 ที่มีแค่ 1.4 ล้านคน นั่นอาจดูเป็นจำนวนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับที่ Alibaba มีอยู่ในมือ แต่ตัวเลขของการเติบโตต่างหากที่เป็นสิ่งที่ Alibaba สนใจ

Lazada เริ่มต้นธุรกิจตามรอยของ Amazon คือขายสินค้าของตัวเองในโกดังของตัวเอง ก่อนจะเริ่มเปิดให้มีร้านค้าอื่นๆ และแบรนด์เข้ามาวางสินค้าขายในเว็บไซต์ในแบบที่ Alibaba ทำ จนถึงตอนนี้ Lazada มีร้านค้ารวม 27,000 ร้านค้าจาก 6 ประเทศ

Rocket Internet ผู้ก่อตั้ง Lazada และ Web service ต่างๆ เคยทำผิดพลาดในการลงแข่งในตลาด Southeast Asia มาแล้วหลายครั้ง เช่น การพ่ายแพ้ของ Easytaxi เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ Uber และ Grabtaxi แต่สำหรับ Lazada ถือว่าพวกเขาทำได้ดีเลยทีเดียว สำหรับ Alibaba เองตลาดที่แข็งที่สุดดูเหมือนจะเป็นทางอินโดนีเซียที่ต้องต่อสู่กับ E-commerce เจ้าถิ่นอย่าง Tokopedia และ Matahari Mall กิจการใหม่ในเครือบริษัทของครอบครัวเศรษฐีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย

4. Lazada ฝ่าด่านหินของ Southeast Asia มาแล้ว


การทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย แล้วยิ่งเป็นธุรกิจบนภูมิภาคที่การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างเชื่องช้า รวมถึงปัจจัยแวดล้อมมากมายที่สร้างความหลากหลายในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การอยู่อาศัยของประชากรที่แบ่งแยกกระจายตัวบนพื้นที่นับพันเกาะ แต่ละพื้นที่มีภาษาของตัวเอง มีความหลากหลายทางด้านกฎหมาย วัฒนธรรม ภาษี การชำระเงิน วิธีการลดราคา ไปจนถึงการขนส่ง ไหนจะเรื่องความแตกต่างด้านประชากร และการเมืองการปกครอง บ้างเป็นประชาธิปไตย บ้างเป็นเผด็จการ รวมถึงวิธีการของการเกิดคอร์รัปชั่น แต่ละอย่างที่กล่าวมากทำให้ยิ่งยากในการเริ่ม E-commerce ในภูมิภาคนี้

แล้วยังมีเรื่องของความยากจนของประชากร การขนส่งหลักเป็นไปโดยทางรถยนต์และรถไฟ นั่นทำให้การซื้อของออนไลน์ช้าและแพง ผู้คนในบางพื้นที่ยังใช้การพายเรืออยู่เลยด้วยซ้ำ ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม E-commerce ส่วนใหญ่ไม่สามารถขยายครอบคลุมทั้งภูมิภาคได้ ส่วนมากจะอยู่แค่ในประเทศของตัวเองเท่านั้น เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นนั่นเอง

“อินโดนีเซียเป็นที่ที่การขนส่งค่อนข้างยากลำบากที่สุด นั่นทำให้ต้องมีการลงทุนสร้างระบบขนส่งของ Lazada ขึ้นมาเอง” Magnus Exbom Head ขอ Lazada Indonesia เคยกล่าวไว้

เขาบอกว่าระบบขนส่งในอินโดนีเซียไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Lazada ได้ นั่นทำให้บริษัทต้องมีศูนย์กระจายสินค้าและระบบขนส่งของตัวเองเพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นทั่วประเทศ ซึ่งใช้รถตู้และมอเตอร์ไซค์รวมนับพันคัน

5. ซื้อมาย่อมง่ายกว่าทำเอง

สิ่งที่กล่าวมาในข้อ 4 แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ Alibaba ไม่คุ้นเคย แม้จีนจะมีหลายชาติพันธุ์และจำนวนประชากรมหาศาล แต่ส่วนใหญ่พวกเขาก็พูดภาษาจีน ที่ผ่านมาสิ่งที่ Alibaba ต้องทำก็แค่สร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคนชันเพื่อครอบคนพันล้านคนไว้ด้วยกัน แถมยังสบายในเรื่องการขนส่งที่ระบบคมนาคมในจีนค่อนข้างดีและสะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งมีการแข่งขันสูงทำให้ราคาค่าขนส่งในจีนถูก

ดังนั้น หากจะแข่งกับ Lazada คงต้องใช้เงินเป็นพันล้านหรือมากกว่านั้นไม่รู้กี่เท่าในการทำตลาดข้าม 6 ประเทศแบบที่ Lazada ทำไว้ ซึ่งก็ไม่แน่นอนว่าเอาชนะ Lazada ได้ ดังนั้น ซื้อต่อดีที่สุด

6. ผู้ค้าชาวจีนมีโอกาสเปิดตลาดใหม่

การร่วมมือครั้งนี้เหมือนเป็นการเปิดประตูการค้าให้ผู้ค้าและลูกค้าหน้าใหม่มาเจอกันเพิ่มโอกาสในการค้าและเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น เมื่อเศรษฐกิจและการค้าในจีนเริ่มชะลอตัวผู้ค้าจาก Taobao และ Tmall ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ๆ กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ของพวกเขา ที่อาจสร้างรายได้ให้ได้อีกมหาศาล




วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนวโน้มตลาดสินค้าแบรนเนมในจีน ประจำปี 2559

กระแสแบรนด์เนมปิดร้านในจีน

     หลังจาก Louis Vuitton ปิดสาขา 6 แห่ง (และเปิดใหม่ 2 แห่ง) ในจีนในปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2559 Louis Vuitton ยืนยันปิดอีก 2 สาขาที่นครเซี่ยงไฮ้และมณฑลซานซี ซึ่งผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของ LVMH (Louis Vuitton Moët Hennessy) ผู้จัดจำหน่ายสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลกระบุว่า อุปสงค์ในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊าชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ LV ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ลดลงไปอีก
     ตามรายงานตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยจีนประจำปี 2558 ของ Bain & Company บริษัทวิจัยการตลาดพบว่า นอกจาก LV แล้ว ปี 2558 GUCCI ปิดสาขา 5 แห่งในจีน,Burberry ปิดสาขา 2 แห่งในจีน,และ Prada ปิดสาขา 4 แห่งในจีน,อย่างไรก็ดี LV ย้ำว่า การปิดสาขาบางแห่งไม่ได้หมายความว่า LV จะระงับการลงทุนและการขยายธุรกิจในจีน แต่เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพตลาดและปรับปรุงโครงสร้างสาขาร้านที่มีอยู่


ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในจีนน้อยลง

     ตามรายงานของ Bain & Company ในปี 2558 ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในจีนมีมูลค่า 113,000 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปี 2557 และชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในฮ่องกงและมาเก๊า ลดลงร้อยละ 25 
     ประเภทสินค้าหลักที่ยอดจำหน่ายในจีนลดลงได้แก่ นาฬิกาข้อมือ เสื้อผ้าผู้ชาย และเครื่องหนัง ทั้งนี้ เนื่องจากราคาสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศที่ถูกกว่า โดยราคาแอลกอฮอล์ถูกกว่าร้อยละ 64 - 85 ราคานาฬิกาข้อมือถูกกว่าร้อยละ 33 - 83 ส่วนราคาเสื้อผ้า น้ำหอม กระเป๋า เครื่องสำอาง และรองเท้าหนังราคาถูกกว่าร้อยละ 30 นอกจากนี้ การเติบโตของการท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้บริโภคจีนที่มีความเชื่อมั่นต่อเว็บไซต์ B2C ในต่างประเทศ ทำให้ชาวจีนนิยมซื้อสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ยอดจำหน่ายในจีนลดลง

ยอดชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น

     สถิติจากกรมการท่องเที่ยวจีนชี้ว่า ปี 2558 นักท่องเที่ยวจีนเดินทางเที่ยวต่างประเทศถึง 120 ล้านคน และมีการจับจ่ายเฉลี่ยมากกว่า 10,000 หยวนต่อหัว ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวและปริมาณค่าใช้จ่ายติดอันดับแรกของโลกทั้งคู่
     ด้านการบริโภคสินค้าหรู ตามรายของ Fortune Character Research Center สถาบันวิจัยตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในนครเซี่ยงไฮ้ พบว่า ปี 2558 ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในตลาดโลกมีมูลค่าสูงถึง 116,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2557 โดยซื้อจากต่างประเทศมีมูลค่า 91,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 78 ทั้งนี้ ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติและเว็บไซต์ B2C ในต่างประเทศถึงร้อยละ 12 ของการซื้อสินค้าแบรนด์เนมทั้งหมด



...ในปี 2558 ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมที่ญี่ปุ่นเติบโตร้อยละ 200 เมื่อเทียบกับปี 2557...
      เนื่องจากเงินเยนอ่อนค่า ราคาสินค้าจึงถูกกว่าในจีน นอกจากญี่ปุ่นแล้ว เกาหลีใต้ ยุโรป และออสเตรเลียก็เป็นปลายทางการท่องเที่ยวที่ชาวจีนนิยมซื้อสินค้าแบรนด์เนม

นอกจากนี้ ชาวจีนวัย 25-40 ปีก็มีความนิยมซื้อของที่ต่างประเทศไม่เหมือนกัน
ชาวจีนวัย 25-30 ปี     นิยมซื้อรองเท้า เสื้อผ้า และเครื่องสำอาง
ชาวจีนวัย 30-35 ปี     นิยมซื้อกระเป๋าและผลิตภัณฑ์ดิจิตอล
ชาวจีนวัย 35-40 ปี     นิยมซื้อเครื่องประดับเพชรพลอย และมีความสนใจต่อสินค้าบำรุงสุขภาพสูง


แนวโน้มตลาดสินค้าแบรนเนมในจีนประจำปี 2559

- เนื่องจากยอดจำหน่ายน้อยลง คาดว่าแบรนด์เนมในจีนส่วนใหญ่ยังคงลดปริมาณสาขาและปรับโครงสร้างสาขาในจีนต่อไป ซึ่งแทนที่จะเร่งฝีเท้าในการเปิดสาขาใหม่ในจีน แบรนด์เนมต่างๆ จะหันมาสนใจกับสาขาใหญ่ที่มีอยู่และมีที่ตั้งที่ดี เพื่อเพิ่มบทบาทของร้านที่มีอยู่ ให้ลูกค้ามีโอกาสสัมผัสสินค้าและไลฟ์สไตล์ รวมทั้งการให้บริการลูกค้า

- ปริมาณชาวจีนที่ถูกหล่อหลอมมีความเชื่อถือในแบรนด์เนมและชื่นชมไลฟ์สไตล์ที่ดูดีมีระดับจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในจีน ซึ่งการตอบสนองความต้องการแฟชั่นคนรุ่นใหม่ของจีนและการออกแบบสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในตลาดจีน
- การค้าสินค้าแบรนด์เนมโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ในทั่วโลกจะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในปี 2559 โดยเฉพาะเว็บไซต์ทางการของแบรนด์เนมจะเป็นเวที E-Commerce ที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ มีแบรนด์เนมเริ่มบุกตลาดออนไลน์ ซึ่ง LV กำลังพิจารณาเปิดร้านจำหน่ายสินค้าออนไลน์ของตนในเดือน เม.ย. 2559 หลังจากต่อต้านการละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าปลอมในตลาดจีนมานาน

- งบประมาณในการโฆษณาสินค้าผ่านช่องทางดิจิตอล (เช่น เว็บไซต์, APP, Wechat, Weibo) สัดส่วนร้อยละ 35 ของงบประมาณการโฆษณาสินค้าทั้งหมดและจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งผลสำรวจชี้ว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ร้อยละ 80 รับและเรียนรู้ข้อมูลสินค้าแบรนด์เนมจากเว็บไซต์หรือ APP และผู้ให้สัมภาษณ์ร้อยละ 60 รับและเรียนรู้ข้อมูลสินค้าแบรนด์เนมจาก Social Network เช่น Wechat และ Weibo

- รัฐบาลจีนมีนโยบายควบคุมการซื้อสินค้าแบรนด์เนมที่ต่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้ชาวจีนหันกลับมาใช้จ่ายในประเทศจีนมากขึ้น ที่ผ่านมาศุลกากรจีนมีการตรวจสอบกระเป๋าของชาวจีนที่เดินทางกลับจากแหล่งช้อปปิ้งเข้มงวดมากขึ้น เช่น ญี่ปุ่นและฮ่องกง รวมทั้งปฏิรูปวิธีการเก็บภาษีสำหรับสินค้านำเข้าโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติ (บทความที่เกี่ยวข้อง)



     อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง แต่กลุ่มชนชั้นกลางจีนกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพในการบริโภคสูง ซึ่ง Boston Consulting Group คาดว่า ครอบครัวชาวจีนที่มีรายได้ 12,000 - 22,000 หยวนต่อเดือน จะเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านคนใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้เกิดตลาดบริโภค มูลค่าถึง 2 ล้านล้านหยวน ทั้งนี้ การปรับกลยุทธ์การตลาดของแบรนด์เนมในจีนก็ถือเป็นประสบการณ์สำหรับผู้ประกอบการไทยในจีนหรือผู้ประกอบการไทยที่สนใจบุกตลาดจีน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพตลาด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนการปรับปรุงนโยบายของรัฐบาลจีนได้อย่างทันท่วงที และเพื่อประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในจีนต่อไป





วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

จีนเตรียมปฏิรูป ภาษี E-Commerce ข้ามชาติ

ผู้ประกอบการไทยเตรียมตัวพร้อม!จีนเตรียมปฏิรูปภาษี E-Commerce ข้ามชาติ

      เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 59 สื่อจีน 21st Century Business Herald รายงานว่า จีนกำลังเตรียมปฏิรูปวิธีการเก็บภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติ ซึ่งคาดว่าจีนจะประกาศใช้ระเบียบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. 2559

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่จีนนำร่องเมืองทดลอง E-Commerce จีนมีการเก็บภาษีพัสดุสำหรับสินค้าที่นำเข้าโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติ แต่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีบริโภค โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มูลค่าสินค้าที่นำเข้าไม่เกิน 1,000 หยวนต่อครั้ง
- หากภาษีพัสดุต่ำกว่า 50 หยวน ไม่ต้องจ่ายภาษีพัสดุ
- ภาษีพัสดุของเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพส่วนบุคคลอยู่ที่ร้อยละ 50
- ภาษีพัสดุของเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า และนาฬิกาอยู่ที่ร้อยละ 20
- ภาษีพัสดุของสินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 10

ตามสื่อจีนรายงาน นโยบายภาษีใหม่ที่จีนจะประกาศใช้ มีสาระสำคัญดังนี้
- มูลค่าสินค้าที่นำเข้าห้ามเกิน 2,000 หยวนต่อครั้ง และห้ามเกิน 20,000 หยวนต่อปีต่อคน
- เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีบริโภคสำหรับสินค้านำเข้าโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติ แต่ลดอัตราภาษีร้อยละ 30 (สำหรับสินค้าส่วนใหญ่ที่ไม่ต้องจ่ายภาษีบริโภค ภาษีที่ควรจ่าย=ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17%*70%=11.9% หากภาษีต่ำกว่า 50 หยวนก็ต้องจ่าย) และจีนจะปรับปรุงอัตราภาษีตามความเหมาะสม
- สำหรับสินค้านำเข้าที่มูลค่าต่ำกว่า 2,000 หยวน กำหนดอัตราภาษีศุลกากรเป็น 0 (ชั่วคราว) หากเกิน 2,000 หยวน ต้องจ่ายภาษีศุลกากรตามอัตราภาษีการค้าทั่วไป

ตารางเปรียบเทียบอัตราภาษี

ภาษี e-commerce จีน


     เดิมทีผู้ประกอบการสามารถแยกสินค้าเป็นหลายพัสดุ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี (อย่างถูกต้อง) แต่ภายใต้ระเบียบใหม่สังเก็ตได้ว่า สินค้าประเภทของใช้เด็กและอาหารต้องจ่ายภาษีเพิ่มร้อยละ 11.9 เครื่องสำอางที่ราคาต่ำกว่า 100 หยวนต้องจ่ายภาษีเพิ่มร้อยละ 32.9 ส่วนสินค้าประเภทเสื้อผ้าจะจ่ายภาษีลดลงร้อยละ 8.1 และเครื่องสำอางที่ราคา 100 หยวนขึ้นไปจะจ่ายภาษีลดลงร้อยละ 17.1

     เนื่องจากผลกระทบของระเบียบภาษีใหม่ดังกล่าว มีร้านค้าออนไลน์ในจีนเริ่มปรับเพิ่มราคาสินค้าที่ซื้อจากต่างประเทศแล้ว เช่น ขวดนม จุกขวดนม และผ้าอ้อมเด็ก เป็นต้น สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีการจำหน่ายสินค้ามายังจีนโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ก็ควรคำนึงถึงระเบียบภาษีใหม่ของจีนด้วย


วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

E-commerce แดนมังกร ธุรกิจที่น่าจับตามอง

ยอดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวจีนพุ่ง ดันธุรกิจ E-Commerce!!!

     
          จีนเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เรื่องราวสถิติ eCommerce ในตลาดจีน จึงทวีความน่าสนใจตามไปด้วย โดยเฉพาะตัวเลขที่ระบุว่า eCommerce จีนจะมีเงินสะพัดมากกว่า 1.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีนี้

    
     ข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในจีนพบว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชาวจีนส่วนใหญ่เริ่มหันมาซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการประเมินว่าจำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์จะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 23% ในปี 2010 เป็น 44% ในปี 2015 และจะสามารถทำรายได้โดยคิดเป็นสัดส่วนถึง 7.4% ของมูลค่าค้าปลีกทั้งหมดในปี 2015 อีกด้วย

    
      จากการสำรวจพบว่าธุรกิจ eCommerce ในจีนยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้ (2016) มีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์จะทำสถิติเพิ่มสูงถึง 423.4 ล้านคนหรือคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 457,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตามคาด ผู้ซื้อส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์ สัญชาติจีนที่มีชื่อเสียง อย่าง Tmall.com ซึ่งแยกตัวมาจาก Taobao.com ก็ได้รับความนิยมมาเป็นอันดับ 1 (39.9%) ตามมาด้วย 360Buy.com (14.7%) Suning.com (2.4%) Amazon.cn (2.2%) รวมไปถึง Dangdang.com (1.6%) และ Vancl.com (1.5%) โดยเว็บไซต์ค้าปลีกชื่อดังเหล่านี้สามารถครองส่วนแบ่งตลาด eCommerce ในจีน โดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 65% เลยทีเดียว


   เหตุผลที่ชาวจีนส่วนใหญ่เริ่มหันมาซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น คือ ประหยัดเวลา (28%) ราคาถูก (25%) สะดวกสบาย (18%) ง่ายต่อการเปรียบเทียบราคา (7%) มีทางเลือกที่หลากหลาย (4%) รวมไปถึงจัดส่งสินค้าฟรี มีรายละเอียดสินค้าให้ศึกษาอย่างชัดเจนและง่ายต่อการค้นหาแบรนด์ที่ต้องการ (อย่างละ 1%)

   ในส่วน วิธีการชำระเงิน พบว่าผู้ซื้อสินค้าส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าสินค้าผ่านทาง Alipay ซึ่งเป็นระบบการจ่ายเงินของจีนที่มีลักษณะคล้ายกับ Paypal ในบ้านเรามากที่สุดเป็นอันดับ 1 (47%) รองลงมาเป็น Tenpay (21%) การโอนผ่านธนาคาร (11%) 99Bill / China PNR (อย่างละ 6%) Yeepay (4%) และอื่นๆ (5%)

     การซื้อสินค้าออนไลน์และการทำธุรกิจ eCommerce เป็นกระแสที่กำลังเติบโตและมีศักยภาพอยู่มาก สอดคล้องกับจำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่จะกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของจีน โดยเฉพาะการใช้บริการด้านข้อมูลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ราคาโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตถูกลง บวกกับเครือข่าย 3G อย่างเต็มรูปแบบ ธนาคารต่าง ๆ ในจีนล้วนให้บริการการโอนเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ต สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคต่อความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็วในการชำระเงิน โดยผู้บริโภคจะช็อป จ่าย ที่ไหนเมื่อไรก็ได้แค่ คลิ๊ก! 

      จากระบบอินเตอร์เน็ตและความเร็วที่จะได้รับการพัฒนาในอนาคตอันใกล้ ผนวกกับช่องทางการตลาดทั้งหลายที่ระดมเข้ามานั้นจะเป็นแรงผลักดันที่น่าสนใจซึ่งทำให้ธุรกิจนี้เติบโตขึ้นไปอีก ซึ่งอีกไม่นาน ยอดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในจีนจะเพิ่มทะยานมากกว่าปัจจุบันหลายเท่าตัว สิ่งนี้ถือเป็น “โอกาสทอง” ของธุรกิจการขายสินค้าออนไลน์ จึงไม่แปลกที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากทั่วโลกต่างจ้องเข้ามากินส่วนแบ่งของ “เค้ก” ชิ้นโตนี้ ซึ่งกำลังเตรียมจับจองพื้นที่ในตลาดอีคอมเมิร์ซในจีน ทั้งผ่านเว็บไซต์ซื้อของออนไลน์ รวมทั้งผ่านช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมในจีน ไม่ว่าจะเป็น Weibo QQ Wechat สิ่งเหล่านี้ย่อมดึงดูดให้ผู้บริโภคจีนสนใจและกระตุ้นการซื้อสินค้าได้เป็นอย่างดี การปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลกออนไลน์ที่กำลังรุ่งพุ่งแรงอยู่ ณ ขณะนี้ เชื่อว่าจะเป็นข้อได้เปรียบในการทำธุรกิจในจีนอย่างแน่นอน

     แนวโน้มการเติบโตของตลาด eCommerce ในจีนเป็นกระแสมาแรงและดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในอีกหลายปีเช่นนี้ รัฐบาลจีนต้องกำหนดแผนสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศแล้ว ในอนาคตยังเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนด้วย


ที่มา : http://thumbsup.in.th
          http://www.thaibizchina.com/

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หนุ่มนักธุรกิจ แจ๊ค หม่า ก้าวสู่มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศจีน

ประวัติ แจ๊ค หม่า มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศจีน 8 แสนล้านบาท



หลายๆคนอาจจะได้ยินชื่อ แจ๊ค หม่า กันมาบ้างไม่มากก็น้อย เพราะว่าล่าสุดก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศจีน หลังบริษัทอาลีบาบาเข้าตลาดหุ้นในนิวยอร์ค ซึ่งจากรายงานนายหม่ามีทรัพย์สิน รวมมูลค่าทั้งสิ้นราว 8 แสนล้านบาท ซึ่งมากขึ้นกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยบริษัทอาลีบาบาอาลีบาบา ตั้งขึ้นในปี 1999 ซึ่งเป็นรูปแบบบริษัทอีคอมเมิร์ชชื่อดังของจีน วันนี้ทาง เราจะขอนำเสนอประวัติของมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศจีน คนนี้ให้เพื่อนๆ รู้จักกันซะหน่อย



แจ๊ค หม่า เป็นคนเชื้อสายจีน เกิดที่เมืองหางโจว ในสมัยเด็กเขาสนใจที่จะศึกษาภาษาอังกฤษมากกว่าสิ่งใด ช่วงเริ่มต้นอาชีพเขาจึงเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและได้รับเงินเดือนเพียง 500 บาท แต่ก็ทำให้เขาเป็นคนจีนที่เก่งภาษาอังกฤษอย่างหาตัวจับยากทีเดียวในประเทศจีนยุคนั้น



วิสัยทัศน์ของแจ็ค หม่า
เริ่มต้นจากการที่เขาไปเยี่ยมเพื่อนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและเขาลองให้เพื่อนค้นหาสินค้าเป็นภาษาจีน ปรากฎว่าไม่พบผลการค้นหานั้น ทำให้เขาได้ค้นพบช่องว่างทางธุรกิจที่มหาศาล 

ในปี 1995 เขาก่อตั้ง บริษัทไชน่าเยลโล่เพจเจส ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นบริษัทอินเตอร์เน็ตแรกสุดในประเทศจีน หลังจากนั้นปี 1999 เขาได้ก่อตั้งบริษัท Alibaba ด้วยวิสัยทัศน์ด้านอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ยังมีบริษัทย่อยเด่นๆอีกเช่น Tmall, Aliexpress, Aplipay, Juhuasuan, 1688.com, eTao, Alibaba Cloud Computing




และในปี 2012 ได้มีธุรกรรมซื้อขายผ่าน Alibaba รวมทั้งสิ้น 1 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 5 ล้านล้านบาท) โดยแจ็ค หม่านำบริษัท Alibaba เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กและทำสถิติ IPO ที่ระดมเงินได้สูงสุดในประวัติการณ์ของตลาดหุ้นสหรัฐ ในวันแรกที่ซื้อขายมูลค่าบริษัท Alibaba พุ่งสูงถึงกว่า 200 พันล้านเหรียญ(6 ล้านล้านบาท) แซงหน้ายักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ eBay ส่งผลให้เขากลายเป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งคนใหม่ของประเทศจีนในทันที



สมัยที่ Jack Ma เริ่มทำ Alibaba ใหม่ๆ เขาต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย เช่น คนจีนเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่บัตรเครดิต ระบบลอจิสติกส์ห่วย คนจีนเองยังไม่เชื่อถือกันเลย ไม่เคารพกฎหมาย ฯลฯ













ย้อนกลับไปในปี 1999 ช่วงที่ Alibaba ยังล้มลุกคลุกคลาน...
Jack ประชุมพนักงานรุ่นแรกจำนวน 17 คนที่บ้านของเขาเอง (Alibaba มีผู้ก่อตั้งทั้งหมด 18 คนนี้) และพูดถึงวิสัยทัศน์ของเขากับ Alibaba ว่าต้องทำอะไรบ้าง  Jack Ma บอกเพื่อนร่วมอุดมการณ์ว่าไม่ต้องห่วงปัญหาข้างต้น  " ขอให้พนักงานทุกคนอดทนประมาณ 3-5 ปี ขอให้ทำงานหนักแบบเดียวกับคู่แข่งในซิลิคอนวัลเลย์ เลิกคิดถึงการทำงานแบบ 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็นซะ ขอให้คิดว่าเราจะเป็นบริษัทระดับโลกตั้งแต่วันแรก " และเขาคิดว่าบริษัทน่าจะพ้นช่วงยากลำบากไปได้ และ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2002

จากนั้นเส้นทางของ Alibaba ก็เริ่มต้นขึ้น โดยเว็บไซต์ Alibaba.com เป็นเว็บขายของแบบ B2B สำหรับผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าในจีน ช่วงแรกบริษัทโปรโมทตัวเองว่าเป็นเว็บไซต์ online trade show เพื่อให้ผู้นำเข้าส่งออกมองว่าเป็นพื้นที่ขายของที่เพิ่มเข้ามา ไม่ใช่คู่แข่งที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด



ต่อมาบริษัทขยายตัวมาทำค้าปลีก โดยเปิดเว็บที่สอง Taobao.com อิงตามโมเดลของร้านค้าปลีก ร้านโชว์ห่วยของจีน ซึ่งแตกต่างจากโมเดลของ eBay ในช่วงแรกคือการนำของเก่าหรือของสะสมมาขายมือสอง ซึ่งโลกตะวันตกมีระบบทุนนิยมมานาน คนมีของเก่าสะสมไว้เยอะ แต่จีนเพิ่งออกมาสู่ระบบทุนนิยม แต่ละบ้านแทบไม่มีของอะไรที่นำมาขายได้เลย จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นการผลักร้านค้าปลีกเล็กๆ ขึ้นมาอยู่บนอินเทอร์เน็ตแทน




แน่นอนว่า Taobao ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ eBay ซึ่ง Jack Ma ก็กล่าววาทะที่มีชื่อเสียงเอาไว้ว่า eBay เปรียบเสมือนฉลามในมหาสมุทร ส่วน Alibaba เป็นแค่จระเข้ในแม่น้ำแยงซีเกียง (Crocodile in the Yangtze River) ถ้าเราต่อสู้กันในทะเล เราแพ้แน่ แต่ถ้าสมรภูมิคือแม่น้ำ เราจะเป็นผู้ชนะ "


การออกแบบเว็บ Taobao ซึ่งเขาก็ค้นหาคำตอบว่าควรทำอย่างไร ตำราการออกแบบเว็บในโลกตะวันตกมักชูเรื่องความสะอาด เรียบง่าย ไม่รก ซึ่งขัดกับอุปนิสัยของคนจีนที่ชอบเยอะๆ เห็นสินค้าครบถ้วนในหน้าจอเดียว

แต่จุดเด่นของ Taobao จริงๆ คือปุ่ม "แชตกับคนขาย" ช่วยให้ลูกค้าสามารถคุยกับคนขายได้จริงๆ ก่อนสั่งสินค้า เพราะอุปนิสัยของคนเอเชียที่เน้นสายสัมพันธ์ระหว่างคน ซึ่งต่างจากโมเดลฝรั่งที่เน้นระบบอัตโนมัติ ไม่ต้องคุยกับคน และ eBay ไม่อยากให้ลูกค้ากับคนขายคุยกันเองเพราะกลัวเสียสถานะตัวกลาง  

นิยามของ Taobao จึงไม่ใช่อีคอมเมิร์ซแบบดั้งเดิม แต่เป็น social commerce ที่เป็นชุมชนระหว่างคนซื้อกับคนขายด้วย ลูกค้าหลายคนกลายเป็นเพื่อนกับคนขาย และมีหลายคู่ที่ได้แต่งงานกันเพราะ Taobao ถ้าบอกว่าอยู่ในอเมริกาแล้วบอกว่าเจอกับแฟนผ่าน Amazon คงเป็นไปไม่ได้

ปัจจัยเรื่อง social เป็นจิ๊กซอชิ้นแรกที่ทำให้คนใช้ Taobao กันมาก ต่อมาบริษัทก็แก้ปัญหาเรื่องความไม่เชื่อใจกันระหว่างคนซื้อกับคนขาย ว่าจะเชิดเงินหรือไม่ ด้วยระบบจ่ายเงิน Alipay ที่ต่างไปจากระบบของ PayPal ตรงที่ Alipay ทำตัวเป็นคนกลางถือเงิน (escrow)

ระบบของ Alipay ผู้ซื้อจะจ่ายเงินไปให้ตัวกลาง Alipay ก่อน จากนั้น Alipay จะแจ้งผู้ขายว่าได้รับเงินจากผู้ซื้อแล้ว แต่ยังไม่จ่ายเงินให้ผู้ขาย ฝั่งของผู้ขายจะต้องส่งสินค้าให้ถึงมือผู้ซื้อก่อน เมื่อเสร็จกระบวนการแล้ว Alipay ค่อยโอนเงินส่วนนี้ให้

Alibaba ไม่ได้ลงมาทำระบบลอจิสติกส์เอง เพราะมีแนวคิดว่าปล่อยให้คนขายจัดการเองมีประสิทธิภาพมากกว่า (หลายครั้ง ผู้ขายใช้วิธีส่งของด้วยการขี่จักรยานไปส่งแทนการใช้ระบบลอจิสติกส์) แต่ช่วงหลังพอตลาดโตขึ้นมาก ระบบลอจิสติกส์เอกชนเริ่มรองรับไม่ไหว ทำให้ Alibaba ต้องเข้ามาลงทุนบ้าง แต่ก็ยังไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัท เน้นลงทุนเพื่อให้พาร์ทเนอร์โตทันความต้องการมากกว่า

ปัจจัยหลักที่ช่วยผลักดัน Taobao คือ Alibaba ตัดสินใจไม่คิดค่าธรรมเนียมผู้ขายเป็นเวลา 3 ปี เพื่อให้คนกล้าเข้ามาใช้ระบบแล้วบอกต่อ เพราะคนจีนจะไม่กล้าจ่ายเงินถ้าหากไม่ได้ลองขายก่อน ตรงนี้ฝั่ง eBay ไม่สนใจและบอกว่าไม่มีคำว่า "ฟรี" อยู่ในหัวเลย

นอกจากนี้ Taobao ยังมี ระบบแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย (dispute management) ด้วยระบบลูกขุน (jury) ภายในเว็บ ที่ให้แต่ละฝ่ายเสนอตัวแทนลูกขุนเข้ามาพิจารณาข้อขัดแย้ง เป็นโมเดลที่ดูแลกันเองภายในชุมชน และช่วยแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้งไปได้มาก

ถัดจาก Taobao ที่เป็นโมเดลร้านโชว์ห่วย ก็เป็นคิวของ Tmall.com เป็นเหมือน "ห้างสรรพสินค้าออนไลน์" แบรนด์มาขายเอง เน้นสินค้าหรูหรามีราคามากขึ้น

ในสหรัฐมีห้างสรรพสินค้ามากมาย การมาขายสินค้าออนไลน์ถือเป็นเพียงช่องทางหนึ่งเท่านั้น และเว็บอีคอมเมิร์ซเองก็พยายามเอาชนะห้างสรรพสินค้าด้วย เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แถมเว็บอีคอมเมิร์ซเองพยายามลดความสำคัญของแบรนด์สินค้าลง เน้นไปที่ตัวสินค้าเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากเพจของแบรนด์บน Amazon ที่มีโลโก้แบรนด์น้อยมาก ปรับแต่งอะไรแทบไม่ได้เลย

แต่กรณีของ Tmall นั้นกลับกัน เพราะจีนไม่มีระบบห้างสรรพสินค้าที่ดีพอ บริษัทจึงมองว่าต้องทำ Tmall ให้เป็นห้างสำหรับแบรนด์มาขายของ เลยเปิดพื้นที่ให้จัดเต็มเรื่องโฆษณาอย่างเต็มที่


ผลกลายเป็นว่ามีแบรนด์สินค้าจำนวนมากไม่มีหน้าร้านจริงๆ และเปิดร้านบน Tmall เพียงอย่างเดียว ตัวอย่างในภาพคือแบรนด์เสื้อผ้า HSTYLE จากเกาหลีใต้ เน้นใช้ดาราช่วยโปรโมท (ทั้งดาราเกาหลีและจีน) โดยไม่ต้องมีหน้าร้านเลย ขายออนไลน์ล้วนๆ   ปัจจุบันจึงมีอาชีพ Taobao models คือสาวสวยหนุ่มหล่อ รับจ้างเป็นนางแบบนายแบบบน Taobao เพียงอย่างเดียว (คล้ายกับร้านเสื้อผ้าบน Facebook/Instagram ในบ้านเรา)



มีผู้ฟังถามว่าการขายเสื้อผ้าออนไลน์ มักติดปัญหาเรื่องสินค้าต้องลองสวมก่อน กรณีแบบนี้ Alibaba แก้ปัญหาอย่างไร คำตอบคือต้องเริ่มจากนโยบายรับประกันการคืนสินค้าก่อน ภายใน 7 วันถ้าผู้ซื้อต้องการคืนสินค้า ผู้ขายไม่มีสิทธิถามใดๆ ต้องรับคืนเสมอ



       ในภาพรวมแล้ว โมเดลของ Alibaba คือการสร้าง ecosystem ของการค้าขนาดใหญ่ มีเว็บไซต์หลากหลายรองรับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม และมีระบบจ่ายเงิน Alipay เป็นตัวกลางให้ธุรกรรมราบรื่น


ในประเทศจีนมีธรรมเนียมที่เรียกว่า 
"วันคนโสด" (Singles' Day) 
เป็นด้านกลับของวันวาเลนไทน์ ซึ่ง Alibaba ใช้โอกาสนี้เปลี่ยนวันคนโสด มาเป็นวันช็อปปิ้งแก้เครียดเรื่องโสด ผลคือวันคนโสดปี 2014 บริษัททำยอดขายได้ถึง 9.3 พันล้านดอลลาร์ภายในวันเดียว



           สาเหตุที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ ก็ด้วยตลาดผู้บริโภคจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั่นเอง ทำให้หลายบริษัทจากต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจต้องปรับตัวกันใหญ่ จนถึงถอนตัวกลับบ้านเลยก็มี โอกาสจึงเป็นของ แจ็ค หม่า เข้ากับทำนองที่ว่า “คนจีนเข้าใจคนจีน” มากกว่า


บทสรุปของตำนาน Alibaba คือการปรับโมเดลคอมเมิร์ซให้เหมาะกับความต้องการของท้องถิ่น ซึ่ง Jack Ma เปรียบเทียบว่าในโลกตะวันตก อีคอมเมิร์ซเป็นแค่ของหวาน (dessert) เพราะระบบการค้าทั่วไปดีอยู่แล้ว แต่ในจีนที่ไม่มีอะไรเลย อีคอมเมิร์ซสำคัญระดับอาหารจานหลัก (main course)     ปัจจุบัน อีคอมเมิร์ซในจีนเฟื่องฟูมาก ผู้เล่นรายใหญ่คือ Alibaba, JD.com, Tencent และมีรายเล็กจับตลาดเฉพาะทางอีกมาก

สรุปปิดท้ายว่า ในประเทศกำลังพัฒนาหลายๆแห่งจะมีรูปแบบอีคอมเมิร์ซคล้ายคลึงกัน นั่นคือทำหน้าที่แทนระบบค้าปลีกที่ไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ตัวอย่างประเทศในแอฟริกาเคยมอง Amazon เป็นโมเดล แต่ทำไปสักพักก็พบว่าทำแบบ Alibaba เหมาะสมกว่า

เรื่องสภาพตลาดของแต่ละประเทศมีความสำคัญมาก เป็นเหตุที่ทำให้ Amazon/eBay ไม่เวิร์คในจีน และ Alibaba ไม่เหมาะสำหรับอเมริกาเช่นกัน ตรงนี้เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการในแต่ละประเทศต้องค้นหาคำตอบที่เหมาะสม อย่างในอินเดียก็มี Flipkart และ Snapdeal ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มี Lazada และ Tokopedia


ข้อจำกัดของตลาดคอมเมิร์ซเมืองไทย คือระบบจ่ายเงินที่ยังอิงกับเงินสดหรือการโอนเงิน ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ เมืองจีนเคยเผชิญปัญหานี้และสามารถแก้ได้ด้วย Alipay ดังนั้นถ้ามีคนไทยทำระบบที่ทัดเทียม Alipay ขึ้นมาได้ ในท้ายที่สุด การจ่ายเงินสดเมื่อได้รับสินค้า (cash on delivery) จะหายไปภายใน 5 ปี









วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

รู้จักกับ อลีบาบา Alibaba.com

รู้จักกับ Alibaba.com ขุมทรัพย์พันล้านที่รอการค้นพบ



Alibaba.com เป็นเว็บไซต์สัญชาติจีน ก่อตั้งโดย แจ็คหม่า หรือ หม่าหยุน ซึ่งอาลีบาบามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างมากสำหรับโรงงานในประเทศจีนที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยอาลีบาบา เป็นตัวละครในนิทานอาหรับซึ่งแจ็คหม่า ให้เหตุผลในการตั้งชื่อนี้ว่า เป็นชื่อที่เรียกง่ายและจดจำได้ง่ายนั่นเอง


          ปัจจุบัน Alibaba.com ถือเป็นเว็บไซต์ B2B (Business to Business) เว็บไซต์ขายส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยอาลีบาบาเน้นให้บริการบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยส่งเสริมการทำ E-commerce อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งอาลีบาบาได้เข้าตลาดหุ้นฮ่องกงในปี 1997 และประกาศตัวเป็นเว็บไซต์ขายส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก


           อาลีบาบา ก่อตั้งปี 1999 ในเมืองหางโจว ประเทศจีน โดยแบ่งแยกเป็น Alibaba.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ และ 1688.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายส่งที่ใช้ภายในในประเทศจีนโดยเฉพาะ ภาษาหลักในเว็บไซต์จะเป็นภาษาจีน รวมถึงเว็บไซต์ Aliexpress.com ซึ่งเป็นเว็บขายปลีกที่มีความปลอดภัยในการซื้อขายสูงโดยเน้นการซื้อปลีกในราคาส่ง ผู้ซื้อสามารถมั่นใจในระบบการชำระเงินได้ เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง โดย Aliexpress ใช้ระบบ Escrow ในการการันตีความปลอดภัยในการชำระเงิน ซึ่งมีตัวกลางในการควบคุมดูแลทุกการชำระเงินอย่างใกล้ชิด โดยปัจจุบัน 3 เว็บไซต์ดังกล่าวมีผู้สมัครเป็นสมาชิกและใช้เว็บไซต์เหล่านี้ในการทำธุรกิจมากกว่า 72.8 ล้านรหัสจากสมาชิกกว่า 240 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน


            จุดประสงค์หลักของ Alibaba.com คือการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กให้มีศักยภาพในการทำตลาดผ่าน Alibaba.com โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจตนเอง โดยอาลีบาบายังให้บริการด้านอินเตอร์เน็ต ซอฟแวร์ต่าง ๆ รวมถึงบริการด้านการส่งออก ซึ่งปัจจุบัน อาลีบาบาจัดตั้งสำนักงานใหญ่ใน 70 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ประเทศในแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น



บริษัทในเครือ Alibaba.com มีดังนี้



Taobao.comเว็บไซต์ขายปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เปิดตัวในปี 2003 และสามารถแย่งตลาดจากเว็บไซต์ประมูลอันดับ 1 ของโลกอย่าง ebay.com ได้ภายใน 3 ปี โดยแจ็คหม่าผู้ก่อตั้ง Taobao.com ต้องการให้ถาวเป่าเป็นเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในประเทศจีนได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้การตลาดแบบเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคชาวจีนได้มากกว่าเว็บไซต์ระดับโลกอย่าง ebay.com





โดยถาวเป่าเน้นให้บริการฟรีในทุกฟังค์ชั่นเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน โดยเน้นการสร้างกำไรด้วยการเก็บค่าโฆษณาจากบรรดาบริษัทใหญ่โตทั้งหลายที่ต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าของตน แนวทางดังกล่าวได้ใจชาวจีนซึ่งชื่นชอบของฟรีไปเต็ม ๆ


          
       เนื่องจาก Taobao.com ไม่เก็บค่าบริการใด ๆ จากสมาชิก ทำให้สมาชิกสามารถขายสินค้าได้ในราคาถูก ซึ่งผู้บริโภคก็จะรู้สึกพึงพอใจและอยากกลับมาอุดหนุนอีกครั้งในอนาคต โดยส่วนตัวขอชื่นชมแนวคิดของแจ็คหม่าที่เข้าใจวัฒนธรรมของชาวจีนเป็นอย่างดี

          โดยปัจจุบัน Taobao.com คือเจ้าตลาดในประเทศจีน ที่มีมาร์เก็ตแชร์มากกว่า 70% ในตลาด และมีสินค้าในเว็บไซต์มากถึง 800 ล้านชิ้น รวมถึงมีผู้สมัครสมาชิกถึง 370 ล้านคน โดยปัจจุบันถาวเป่าคือหนึ่งใน 20 เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมสูงที่สุดในโลก ต้องขอยอมรับว่า แจ็คหม่า นายเยี่ยมมาก !!


***********************************************

Tmall.comแหล่งรวมแบรนด์ดังอันดับต้น ๆในประเทศจีน เปิดตัวเดือนเมษายน 2008 โดย tmall.com ถือเป็นแหล่งรวมแบรนด์ขายปลีกของจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 50% จากการสำรวจล่าสุดของ iResearch โดยนโยบายหลักของ tmall.com มุ่งเน้นไปที่การกระจายสินค้าแบรนด์เนมให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค


          ซึ่งสินค้าใน tmall.com จะไม่มีสินค้าเลียบแบบลิขสิทธิ์หรือสินค้าย้อมแมวปะปนอยู่ โดยปัจจุบัน Tmall.com ได้แยกตัวออกมาเป็นหนึ่งในหน่วยธุรกิจหลักของอาลีบาบาอย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน tmall.com มีร้านค้าชื่อดังเข้าร่วมมากกว่า 70,000 ร้านค้าซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทต่างชาติและในประเทศจีน


         สินค้าใน tmall.com จะมีความหลากหลายสูง มีทั้งสินค้าประเภทงานบริการ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ของจุกจิก ของขวัญ ของชำร่วย เสื้อผ้าแฟชั่น สินค้าแบรนด์เนมต่าง ๆ ซึ่งถูกคัดเลือกมาจากบริษัทกว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศจีน โดย Tmall.com มีอิทธิพลมหาศาลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค เนื่องจาก การซื้อขายสินค้าใน tmall.com เป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็ว รวมถึงมีระบบการซื้อขายที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ขาย ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว


หากถามว่าสินค้าใน Tmall.com ต่างจากสินค้าใน taobao.com อย่างไร ???

คำตอบคือสินค้าใน tmall.com มีคุณภาพสูงกว่า มาตราฐานดีกว่า บริการดีกว่า และน่าเชื่อถือมากกว่าผู้ขายใน taobao.com อย่างไรก็ตามสินค้าใน tmall.com จะราคาแพงกว่า taobao.com และในช่วงหลังแบรนด์เนมระดับโลกต่าง ๆให้ความสนใจกับ tmall.com เป็นอย่างสูง
          
แบรนด์ดังอย่าง UNIQLO, L’Oréal, adidas, P&G, Benefit, Unilever, Gap, Ray-Ban and Levi's. สามารถสร้างประวัติศาตร์ปิดยอดการขายสินค้าใน 1 วันด้วยยอดขายสูงถึง 15,000 ล้านบาทหรือประมาณวินาทีละ 200,000 บาทเลยทีเดียว


***********************************************


Etao.comSearch Engine สำหรับการค้นหาสินค้าในประเทศจีน เปิดให้บริการเดือนตุลาคม 2010 โดยมีเป้าหมายหลักในการให้บริการค้นหาสินค้าและช่วยเหลือให้ผู้ซื้อในการตัดสินใจซื้อสินค้า หาสินค้าราคาต่ำแต่ให้ได้คุณภาพสูงสุดอย่างรวดเร็วในอินเตอร์เน็ต โดยลูกเล่นและฟังค์ชั่นหลักของ etao.com มีดังนี้

  • บริการค้นหาสินค้า
  • บริการค้นหาการซื้อสินค้าแบบรวมกลุ่มซื้อเพื่อให้ได้โปรโมชั่นพิเศษ(Group Buy)
  • บริการค้นหาตั๋วหนังจากโรงภาพยนตร์
  • บริการค้นหาส่วนลด โปรโมชั่นต่าง ๆ
  • บริการค้นหาข้อมูลจาก Taobao Community

ปัจจุบัน สินค้าทั้งหมดมีมากกว่า 1,000 ล้านชิ้น และสามารถค้นหาสินค้าที่มีอยู่ใน Taobao Marketplace, Taobao Mall, Amazon China, Gome, Yihaodian, Nike China and Vancl. โดยผู้ใช้สามารถค้นหาสินค้าได้เพียงเสี้ยววินาทีเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติรวมของสินค้าก่อนทำการตัดสินใจซื้อสินค้าค่ะ


***********************************************

Aliyun.com – Alibaba Cloud Computing เปิดให้บริการเมื่อปี 2009 โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้บริการคราวด์คอมพิวติ้งสำหรับเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร แชร์ข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงช่วยในการประหยัดการลงทุนในด้านทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดย Aliyun.com กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาระบบก้อนเมฆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน





***********************************************


Alipay.com – หนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จของ ถาวเป่า เนื่องจากในขณะที่อีเบย์มี Paypal เป็นอาวุธสำคัญในการการันตีความปลอดภัยในการชำระเงิน แจ็คหม่า เลือกใช้ Alipay.com มาต่อกรกับ Paypal โดยเลือกใช้กลยุทธ์สำคัญอย่างการไม่เก็บค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้นจาก Alipay.com ซึ่งได้ใจคนจีนไปเต็ม ๆ ทำให้เว็บไซต์อย่าง Alipay.com กลายเป็นช่องทางการชำระเงินทางอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศจีน และด้วยความง่ายในการใช้งาน โดยสามารถชำระเงินผ่านธนาคารได้เกือบทุกธนาคารในประเทศจีน


Alipay.com ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2004 และถือเป็นระบบชำระเงินผ่านบุคคลที่ 3 ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และมีผู้สมัครใช้บริการมากกว่า 650 ล้านคนทั่วประเทศ ในวันที่ 11 กันยายน 2011 มีการซื้อขายผ่านระบบ Alipay.com สูงสุดเป็นประวัติศาตร์ด้วยจำนวนกว่า 170 ล้านบาทในระยะเวลาเพียง 24 ชม.

ปัจจุบัน Alipay.com มีพาร์ทเนอร์เป็นสถาบันการเงินมากถึง 100 แห่ง โดยให้บริการผู้ขายมากถึง 460,000 ราย ครอบคลุมการซื้อขายสินค้าบนโลกออนไลน์ การพนันออนไลน์ทุกชนิด เกมส์ออนไลน์ ตั๋วเครื่องบิน ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น ขณะนี้ Alipay.com รับชำระเงินผ่านสกุลเงินทั้งสิ้น 12 สกุลเงินด้วยกัน



ที่มา FB: Thebizstory
***********************************************


เพิ่มเติม