วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

6 เหตุผล Alibaba ซื้อกิจการ Lazada มุ่งสู่การเป็น Amazon แห่งเอเชีย


Alibaba ยักษ์ใหญ่แห่ง E-Commerce ในจีนเพิ่งประกาศข่าวการควบรวมกิจการกับ E-Commerce อีกเจ้าที่ได้รับฉายาว่า Amazon ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง Lazada 

ด้วยเงินลงทุนถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ของวงการ E-Commerce ในเอเชีย





Lazada ก่อตั้งโดย Rocket Internet จากเยอรมนี ในปี 2012 ด้วยแนวคิดที่อยากจะทำเว็บไซต์ E-Commerce แนวเดียวกับ Amazon และ Alibaba แต่ Lazada เลือกทำในสิ่งทั้ง 2 เจ้าไม่ทำนั่นคือเจาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนหลายประเทศและมีช่องว่างให้เห็นแนวโน้มที่จะเติบโต Lazada เหมือนกระเป๋าที่รวมร้านค้าจากหลายประเทศไว้ภายใน แต่เติบโตได้ดีที่สุดในสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามดูเหมือนจะยังไม่ใช่เวลาสำหรับตลาดเทคโนโลยีด้วยปัจจัยหลายอย่าง



ต่อไปนี้เป็นเหตุผล 6 ข้อ ที่ Alibaba เลือกจับมือ Lazada ลุยตลาด Southeast Asia อย่างจริงจัง

1. Alibaba ถึงเวลาหาตลาดใหม่นอกจากจีน

Alibaba มีลูกค้าปีละกว่า 407 ล้านคนจากเว็บ Taobao และ Tmall ซึ่งนับเป็นสองเท่าของคู่แข่งอย่าง JD และ Amazon ในจีน ประชากรในจีนมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 785 ล้านคนและ Jack Ma ประกาศกลยุทธ์จะขยายพื้นที่อาณาจักรของ Alibaba ออกไปให้ครอบคลุมมากว่านี้อีก เพราะยังมีบางพื้นที่ในจีนเช่นตามชนบท หรือชานเมืองที่ผู้คนยังไม่เคยใช้บริการ E-commerce พร้อมทั้งจะเพิ่มศักยภาพทางการขนส่งเพื่อรองรับการเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลให้มากขึ้น

“Alibaba มีแผนจะขยายตลาดไปในพื้นที่ชนบทให้มากขึ้น เราหวังว่าจะพา E-commerce ไปสู่ทุกหมู่บ้านในจีน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลได้สัมผัสประสบการณ์แบบคนเมือง และขายสินค้าของพวกเขาไปยังเมืองต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย”

ด้วยจำนวนมหาศาลของประชากรชั้นกลางและประชากรที่อาศัยอยู่นอกเมืองของจีนทำให้ธุรกิจ E-commerce ในจีนเติบโตเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกตั้งแต่ Jack Ma เปิดตัว Taobao ในปี 2003 และเอาชนะ E-Bay จีนได้ การเทคโอเวอร์ Lazada ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่จะเพิ่มสีสันและความสดใหม่ให้บริษัท

ก่อนหน้านี้ Jack Ma เคยลงทุนกับบริษัท E-Commerce ในอินเดียคือ Paytm และ Snapdeal แต่การลงทุนใน Lazada ครั้งนี้ถือว่าเป็นการลงทุนข้ามชาติครั้งใหญ่ที่สุดของ Alibaba


2. การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางใน Southeast Asia

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรราว 618 ล้านคน มีชนชั้นกลางค่อนข้างน้อยในตอนนี้คือแค่ 190 ล้านคน หากนับจากผู้ที่มีรายได้ประมาณ 500 – 3,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคนภายในปี 2020 ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายถึงฐานลูกค้าของ Alibaba และ Lazada ก็จะเพิ่มขึ้นตามนั่นเอง ทั้งในแง่ของนักช้อป และพ่อค้าแม่ค้าที่นำสินค้ามาลงขายในเว็บไซต์



3. Lazada มีการเติบโตที่ดี

Lazada ถือว่าเป็น E-Commerce ที่เป็นผู้นำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทั้ง 6 เว็บไซต์ที่แยกกระจายตามแต่ละประเทศ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเว็บชั้นนำของประเทศนั้นๆ ก็ตาม Lazada มียอดขายถึง 433 เหรียญสหรัฐใน 6 เดือนแรกของปี 2015 (ข้อมูลล่าสุด) ซึ่งมากขึ้นเป็น 4 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะให้ถึง 1 พันล้านก่อนหมดปี 2015 ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 5.7 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลางปี 2014 ที่มีแค่ 1.4 ล้านคน นั่นอาจดูเป็นจำนวนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับที่ Alibaba มีอยู่ในมือ แต่ตัวเลขของการเติบโตต่างหากที่เป็นสิ่งที่ Alibaba สนใจ

Lazada เริ่มต้นธุรกิจตามรอยของ Amazon คือขายสินค้าของตัวเองในโกดังของตัวเอง ก่อนจะเริ่มเปิดให้มีร้านค้าอื่นๆ และแบรนด์เข้ามาวางสินค้าขายในเว็บไซต์ในแบบที่ Alibaba ทำ จนถึงตอนนี้ Lazada มีร้านค้ารวม 27,000 ร้านค้าจาก 6 ประเทศ

Rocket Internet ผู้ก่อตั้ง Lazada และ Web service ต่างๆ เคยทำผิดพลาดในการลงแข่งในตลาด Southeast Asia มาแล้วหลายครั้ง เช่น การพ่ายแพ้ของ Easytaxi เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ Uber และ Grabtaxi แต่สำหรับ Lazada ถือว่าพวกเขาทำได้ดีเลยทีเดียว สำหรับ Alibaba เองตลาดที่แข็งที่สุดดูเหมือนจะเป็นทางอินโดนีเซียที่ต้องต่อสู่กับ E-commerce เจ้าถิ่นอย่าง Tokopedia และ Matahari Mall กิจการใหม่ในเครือบริษัทของครอบครัวเศรษฐีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย

4. Lazada ฝ่าด่านหินของ Southeast Asia มาแล้ว


การทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย แล้วยิ่งเป็นธุรกิจบนภูมิภาคที่การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างเชื่องช้า รวมถึงปัจจัยแวดล้อมมากมายที่สร้างความหลากหลายในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การอยู่อาศัยของประชากรที่แบ่งแยกกระจายตัวบนพื้นที่นับพันเกาะ แต่ละพื้นที่มีภาษาของตัวเอง มีความหลากหลายทางด้านกฎหมาย วัฒนธรรม ภาษี การชำระเงิน วิธีการลดราคา ไปจนถึงการขนส่ง ไหนจะเรื่องความแตกต่างด้านประชากร และการเมืองการปกครอง บ้างเป็นประชาธิปไตย บ้างเป็นเผด็จการ รวมถึงวิธีการของการเกิดคอร์รัปชั่น แต่ละอย่างที่กล่าวมากทำให้ยิ่งยากในการเริ่ม E-commerce ในภูมิภาคนี้

แล้วยังมีเรื่องของความยากจนของประชากร การขนส่งหลักเป็นไปโดยทางรถยนต์และรถไฟ นั่นทำให้การซื้อของออนไลน์ช้าและแพง ผู้คนในบางพื้นที่ยังใช้การพายเรืออยู่เลยด้วยซ้ำ ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม E-commerce ส่วนใหญ่ไม่สามารถขยายครอบคลุมทั้งภูมิภาคได้ ส่วนมากจะอยู่แค่ในประเทศของตัวเองเท่านั้น เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นนั่นเอง

“อินโดนีเซียเป็นที่ที่การขนส่งค่อนข้างยากลำบากที่สุด นั่นทำให้ต้องมีการลงทุนสร้างระบบขนส่งของ Lazada ขึ้นมาเอง” Magnus Exbom Head ขอ Lazada Indonesia เคยกล่าวไว้

เขาบอกว่าระบบขนส่งในอินโดนีเซียไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Lazada ได้ นั่นทำให้บริษัทต้องมีศูนย์กระจายสินค้าและระบบขนส่งของตัวเองเพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นทั่วประเทศ ซึ่งใช้รถตู้และมอเตอร์ไซค์รวมนับพันคัน

5. ซื้อมาย่อมง่ายกว่าทำเอง

สิ่งที่กล่าวมาในข้อ 4 แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ Alibaba ไม่คุ้นเคย แม้จีนจะมีหลายชาติพันธุ์และจำนวนประชากรมหาศาล แต่ส่วนใหญ่พวกเขาก็พูดภาษาจีน ที่ผ่านมาสิ่งที่ Alibaba ต้องทำก็แค่สร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคนชันเพื่อครอบคนพันล้านคนไว้ด้วยกัน แถมยังสบายในเรื่องการขนส่งที่ระบบคมนาคมในจีนค่อนข้างดีและสะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งมีการแข่งขันสูงทำให้ราคาค่าขนส่งในจีนถูก

ดังนั้น หากจะแข่งกับ Lazada คงต้องใช้เงินเป็นพันล้านหรือมากกว่านั้นไม่รู้กี่เท่าในการทำตลาดข้าม 6 ประเทศแบบที่ Lazada ทำไว้ ซึ่งก็ไม่แน่นอนว่าเอาชนะ Lazada ได้ ดังนั้น ซื้อต่อดีที่สุด

6. ผู้ค้าชาวจีนมีโอกาสเปิดตลาดใหม่

การร่วมมือครั้งนี้เหมือนเป็นการเปิดประตูการค้าให้ผู้ค้าและลูกค้าหน้าใหม่มาเจอกันเพิ่มโอกาสในการค้าและเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น เมื่อเศรษฐกิจและการค้าในจีนเริ่มชะลอตัวผู้ค้าจาก Taobao และ Tmall ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ๆ กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ของพวกเขา ที่อาจสร้างรายได้ให้ได้อีกมหาศาล




6 เหตุผล Alibaba ซื้อกิจการ Lazada มุ่งสู่การเป็น Amazon แห่งเอเชีย


Alibaba ยักษ์ใหญ่แห่ง E-Commerce ในจีนเพิ่งประกาศข่าวการควบรวมกิจการกับ E-Commerce อีกเจ้าที่ได้รับฉายาว่า Amazon ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง Lazada 

ด้วยเงินลงทุนถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ของวงการ E-Commerce ในเอเชีย





Lazada ก่อตั้งโดย Rocket Internet จากเยอรมนี ในปี 2012 ด้วยแนวคิดที่อยากจะทำเว็บไซต์ E-Commerce แนวเดียวกับ Amazon และ Alibaba แต่ Lazada เลือกทำในสิ่งทั้ง 2 เจ้าไม่ทำนั่นคือเจาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนหลายประเทศและมีช่องว่างให้เห็นแนวโน้มที่จะเติบโต Lazada เหมือนกระเป๋าที่รวมร้านค้าจากหลายประเทศไว้ภายใน แต่เติบโตได้ดีที่สุดในสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามดูเหมือนจะยังไม่ใช่เวลาสำหรับตลาดเทคโนโลยีด้วยปัจจัยหลายอย่าง


ต่อไปนี้เป็นเหตุผล 6 ข้อ ที่ Alibaba เลือกจับมือ Lazada ลุยตลาด Southeast Asia อย่างจริงจัง

1. Alibaba ถึงเวลาหาตลาดใหม่นอกจากจีน

Alibaba มีลูกค้าปีละกว่า 407 ล้านคนจากเว็บ Taobao และ Tmall ซึ่งนับเป็นสองเท่าของคู่แข่งอย่าง JD และ Amazon ในจีน ประชากรในจีนมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 785 ล้านคนและ Jack Ma ประกาศกลยุทธ์จะขยายพื้นที่อาณาจักรของ Alibaba ออกไปให้ครอบคลุมมากว่านี้อีก เพราะยังมีบางพื้นที่ในจีนเช่นตามชนบท หรือชานเมืองที่ผู้คนยังไม่เคยใช้บริการ E-commerce พร้อมทั้งจะเพิ่มศักยภาพทางการขนส่งเพื่อรองรับการเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลให้มากขึ้น

“Alibaba มีแผนจะขยายตลาดไปในพื้นที่ชนบทให้มากขึ้น เราหวังว่าจะพา E-commerce ไปสู่ทุกหมู่บ้านในจีน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลได้สัมผัสประสบการณ์แบบคนเมือง และขายสินค้าของพวกเขาไปยังเมืองต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย”

ด้วยจำนวนมหาศาลของประชากรชั้นกลางและประชากรที่อาศัยอยู่นอกเมืองของจีนทำให้ธุรกิจ E-commerce ในจีนเติบโตเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกตั้งแต่ Jack Ma เปิดตัว Taobao ในปี 2003 และเอาชนะ E-Bay จีนได้ การเทคโอเวอร์ Lazada ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่จะเพิ่มสีสันและความสดใหม่ให้บริษัท

ก่อนหน้านี้ Jack Ma เคยลงทุนกับบริษัท E-Commerce ในอินเดียคือ Paytm และ Snapdeal แต่การลงทุนใน Lazada ครั้งนี้ถือว่าเป็นการลงทุนข้ามชาติครั้งใหญ่ที่สุดของ Alibaba


2. การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางใน Southeast Asia

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรราว 618 ล้านคน มีชนชั้นกลางค่อนข้างน้อยในตอนนี้คือแค่ 190 ล้านคน หากนับจากผู้ที่มีรายได้ประมาณ 500 – 3,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคนภายในปี 2020 ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายถึงฐานลูกค้าของ Alibaba และ Lazada ก็จะเพิ่มขึ้นตามนั่นเอง ทั้งในแง่ของนักช้อป และพ่อค้าแม่ค้าที่นำสินค้ามาลงขายในเว็บไซต์


3. Lazada มีการเติบโตที่ดี

Lazada ถือว่าเป็น E-Commerce ที่เป็นผู้นำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทั้ง 6 เว็บไซต์ที่แยกกระจายตามแต่ละประเทศ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเว็บชั้นนำของประเทศนั้นๆ ก็ตาม Lazada มียอดขายถึง 433 เหรียญสหรัฐใน 6 เดือนแรกของปี 2015 (ข้อมูลล่าสุด) ซึ่งมากขึ้นเป็น 4 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะให้ถึง 1 พันล้านก่อนหมดปี 2015 ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 5.7 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลางปี 2014 ที่มีแค่ 1.4 ล้านคน นั่นอาจดูเป็นจำนวนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับที่ Alibaba มีอยู่ในมือ แต่ตัวเลขของการเติบโตต่างหากที่เป็นสิ่งที่ Alibaba สนใจ

Lazada เริ่มต้นธุรกิจตามรอยของ Amazon คือขายสินค้าของตัวเองในโกดังของตัวเอง ก่อนจะเริ่มเปิดให้มีร้านค้าอื่นๆ และแบรนด์เข้ามาวางสินค้าขายในเว็บไซต์ในแบบที่ Alibaba ทำ จนถึงตอนนี้ Lazada มีร้านค้ารวม 27,000 ร้านค้าจาก 6 ประเทศ

Rocket Internet ผู้ก่อตั้ง Lazada และ Web service ต่างๆ เคยทำผิดพลาดในการลงแข่งในตลาด Southeast Asia มาแล้วหลายครั้ง เช่น การพ่ายแพ้ของ Easytaxi เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ Uber และ Grabtaxi แต่สำหรับ Lazada ถือว่าพวกเขาทำได้ดีเลยทีเดียว สำหรับ Alibaba เองตลาดที่แข็งที่สุดดูเหมือนจะเป็นทางอินโดนีเซียที่ต้องต่อสู่กับ E-commerce เจ้าถิ่นอย่าง Tokopedia และ Matahari Mall กิจการใหม่ในเครือบริษัทของครอบครัวเศรษฐีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย

4. Lazada ฝ่าด่านหินของ Southeast Asia มาแล้ว


การทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย แล้วยิ่งเป็นธุรกิจบนภูมิภาคที่การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างเชื่องช้า รวมถึงปัจจัยแวดล้อมมากมายที่สร้างความหลากหลายในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การอยู่อาศัยของประชากรที่แบ่งแยกกระจายตัวบนพื้นที่นับพันเกาะ แต่ละพื้นที่มีภาษาของตัวเอง มีความหลากหลายทางด้านกฎหมาย วัฒนธรรม ภาษี การชำระเงิน วิธีการลดราคา ไปจนถึงการขนส่ง ไหนจะเรื่องความแตกต่างด้านประชากร และการเมืองการปกครอง บ้างเป็นประชาธิปไตย บ้างเป็นเผด็จการ รวมถึงวิธีการของการเกิดคอร์รัปชั่น แต่ละอย่างที่กล่าวมากทำให้ยิ่งยากในการเริ่ม E-commerce ในภูมิภาคนี้

แล้วยังมีเรื่องของความยากจนของประชากร การขนส่งหลักเป็นไปโดยทางรถยนต์และรถไฟ นั่นทำให้การซื้อของออนไลน์ช้าและแพง ผู้คนในบางพื้นที่ยังใช้การพายเรืออยู่เลยด้วยซ้ำ ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม E-commerce ส่วนใหญ่ไม่สามารถขยายครอบคลุมทั้งภูมิภาคได้ ส่วนมากจะอยู่แค่ในประเทศของตัวเองเท่านั้น เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นนั่นเอง

“อินโดนีเซียเป็นที่ที่การขนส่งค่อนข้างยากลำบากที่สุด นั่นทำให้ต้องมีการลงทุนสร้างระบบขนส่งของ Lazada ขึ้นมาเอง” Magnus Exbom Head ขอ Lazada Indonesia เคยกล่าวไว้

เขาบอกว่าระบบขนส่งในอินโดนีเซียไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Lazada ได้ นั่นทำให้บริษัทต้องมีศูนย์กระจายสินค้าและระบบขนส่งของตัวเองเพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นทั่วประเทศ ซึ่งใช้รถตู้และมอเตอร์ไซค์รวมนับพันคัน

5. ซื้อมาย่อมง่ายกว่าทำเอง

สิ่งที่กล่าวมาในข้อ 4 แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ Alibaba ไม่คุ้นเคย แม้จีนจะมีหลายชาติพันธุ์และจำนวนประชากรมหาศาล แต่ส่วนใหญ่พวกเขาก็พูดภาษาจีน ที่ผ่านมาสิ่งที่ Alibaba ต้องทำก็แค่สร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคนชันเพื่อครอบคนพันล้านคนไว้ด้วยกัน แถมยังสบายในเรื่องการขนส่งที่ระบบคมนาคมในจีนค่อนข้างดีและสะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งมีการแข่งขันสูงทำให้ราคาค่าขนส่งในจีนถูก

ดังนั้น หากจะแข่งกับ Lazada คงต้องใช้เงินเป็นพันล้านหรือมากกว่านั้นไม่รู้กี่เท่าในการทำตลาดข้าม 6 ประเทศแบบที่ Lazada ทำไว้ ซึ่งก็ไม่แน่นอนว่าเอาชนะ Lazada ได้ ดังนั้น ซื้อต่อดีที่สุด

6. ผู้ค้าชาวจีนมีโอกาสเปิดตลาดใหม่

การร่วมมือครั้งนี้เหมือนเป็นการเปิดประตูการค้าให้ผู้ค้าและลูกค้าหน้าใหม่มาเจอกันเพิ่มโอกาสในการค้าและเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น เมื่อเศรษฐกิจและการค้าในจีนเริ่มชะลอตัวผู้ค้าจาก Taobao และ Tmall ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ๆ กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ของพวกเขา ที่อาจสร้างรายได้ให้ได้อีกมหาศาล




วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนวโน้มตลาดสินค้าแบรนเนมในจีน ประจำปี 2559

กระแสแบรนด์เนมปิดร้านในจีน

     หลังจาก Louis Vuitton ปิดสาขา 6 แห่ง (และเปิดใหม่ 2 แห่ง) ในจีนในปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2559 Louis Vuitton ยืนยันปิดอีก 2 สาขาที่นครเซี่ยงไฮ้และมณฑลซานซี ซึ่งผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของ LVMH (Louis Vuitton Moët Hennessy) ผู้จัดจำหน่ายสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลกระบุว่า อุปสงค์ในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊าชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ LV ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ลดลงไปอีก
     ตามรายงานตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยจีนประจำปี 2558 ของ Bain & Company บริษัทวิจัยการตลาดพบว่า นอกจาก LV แล้ว ปี 2558 GUCCI ปิดสาขา 5 แห่งในจีน,Burberry ปิดสาขา 2 แห่งในจีน,และ Prada ปิดสาขา 4 แห่งในจีน,อย่างไรก็ดี LV ย้ำว่า การปิดสาขาบางแห่งไม่ได้หมายความว่า LV จะระงับการลงทุนและการขยายธุรกิจในจีน แต่เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพตลาดและปรับปรุงโครงสร้างสาขาร้านที่มีอยู่


ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในจีนน้อยลง

     ตามรายงานของ Bain & Company ในปี 2558 ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในจีนมีมูลค่า 113,000 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปี 2557 และชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในฮ่องกงและมาเก๊า ลดลงร้อยละ 25 
     ประเภทสินค้าหลักที่ยอดจำหน่ายในจีนลดลงได้แก่ นาฬิกาข้อมือ เสื้อผ้าผู้ชาย และเครื่องหนัง ทั้งนี้ เนื่องจากราคาสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศที่ถูกกว่า โดยราคาแอลกอฮอล์ถูกกว่าร้อยละ 64 - 85 ราคานาฬิกาข้อมือถูกกว่าร้อยละ 33 - 83 ส่วนราคาเสื้อผ้า น้ำหอม กระเป๋า เครื่องสำอาง และรองเท้าหนังราคาถูกกว่าร้อยละ 30 นอกจากนี้ การเติบโตของการท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้บริโภคจีนที่มีความเชื่อมั่นต่อเว็บไซต์ B2C ในต่างประเทศ ทำให้ชาวจีนนิยมซื้อสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ยอดจำหน่ายในจีนลดลง

ยอดชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น

     สถิติจากกรมการท่องเที่ยวจีนชี้ว่า ปี 2558 นักท่องเที่ยวจีนเดินทางเที่ยวต่างประเทศถึง 120 ล้านคน และมีการจับจ่ายเฉลี่ยมากกว่า 10,000 หยวนต่อหัว ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวและปริมาณค่าใช้จ่ายติดอันดับแรกของโลกทั้งคู่
     ด้านการบริโภคสินค้าหรู ตามรายของ Fortune Character Research Center สถาบันวิจัยตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในนครเซี่ยงไฮ้ พบว่า ปี 2558 ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมในตลาดโลกมีมูลค่าสูงถึง 116,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2557 โดยซื้อจากต่างประเทศมีมูลค่า 91,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 78 ทั้งนี้ ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติและเว็บไซต์ B2C ในต่างประเทศถึงร้อยละ 12 ของการซื้อสินค้าแบรนด์เนมทั้งหมด



...ในปี 2558 ชาวจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมที่ญี่ปุ่นเติบโตร้อยละ 200 เมื่อเทียบกับปี 2557...
      เนื่องจากเงินเยนอ่อนค่า ราคาสินค้าจึงถูกกว่าในจีน นอกจากญี่ปุ่นแล้ว เกาหลีใต้ ยุโรป และออสเตรเลียก็เป็นปลายทางการท่องเที่ยวที่ชาวจีนนิยมซื้อสินค้าแบรนด์เนม

นอกจากนี้ ชาวจีนวัย 25-40 ปีก็มีความนิยมซื้อของที่ต่างประเทศไม่เหมือนกัน
ชาวจีนวัย 25-30 ปี     นิยมซื้อรองเท้า เสื้อผ้า และเครื่องสำอาง
ชาวจีนวัย 30-35 ปี     นิยมซื้อกระเป๋าและผลิตภัณฑ์ดิจิตอล
ชาวจีนวัย 35-40 ปี     นิยมซื้อเครื่องประดับเพชรพลอย และมีความสนใจต่อสินค้าบำรุงสุขภาพสูง


แนวโน้มตลาดสินค้าแบรนเนมในจีนประจำปี 2559

- เนื่องจากยอดจำหน่ายน้อยลง คาดว่าแบรนด์เนมในจีนส่วนใหญ่ยังคงลดปริมาณสาขาและปรับโครงสร้างสาขาในจีนต่อไป ซึ่งแทนที่จะเร่งฝีเท้าในการเปิดสาขาใหม่ในจีน แบรนด์เนมต่างๆ จะหันมาสนใจกับสาขาใหญ่ที่มีอยู่และมีที่ตั้งที่ดี เพื่อเพิ่มบทบาทของร้านที่มีอยู่ ให้ลูกค้ามีโอกาสสัมผัสสินค้าและไลฟ์สไตล์ รวมทั้งการให้บริการลูกค้า

- ปริมาณชาวจีนที่ถูกหล่อหลอมมีความเชื่อถือในแบรนด์เนมและชื่นชมไลฟ์สไตล์ที่ดูดีมีระดับจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในจีน ซึ่งการตอบสนองความต้องการแฟชั่นคนรุ่นใหม่ของจีนและการออกแบบสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในตลาดจีน
- การค้าสินค้าแบรนด์เนมโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ในทั่วโลกจะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในปี 2559 โดยเฉพาะเว็บไซต์ทางการของแบรนด์เนมจะเป็นเวที E-Commerce ที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ มีแบรนด์เนมเริ่มบุกตลาดออนไลน์ ซึ่ง LV กำลังพิจารณาเปิดร้านจำหน่ายสินค้าออนไลน์ของตนในเดือน เม.ย. 2559 หลังจากต่อต้านการละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าปลอมในตลาดจีนมานาน

- งบประมาณในการโฆษณาสินค้าผ่านช่องทางดิจิตอล (เช่น เว็บไซต์, APP, Wechat, Weibo) สัดส่วนร้อยละ 35 ของงบประมาณการโฆษณาสินค้าทั้งหมดและจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งผลสำรวจชี้ว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ร้อยละ 80 รับและเรียนรู้ข้อมูลสินค้าแบรนด์เนมจากเว็บไซต์หรือ APP และผู้ให้สัมภาษณ์ร้อยละ 60 รับและเรียนรู้ข้อมูลสินค้าแบรนด์เนมจาก Social Network เช่น Wechat และ Weibo

- รัฐบาลจีนมีนโยบายควบคุมการซื้อสินค้าแบรนด์เนมที่ต่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้ชาวจีนหันกลับมาใช้จ่ายในประเทศจีนมากขึ้น ที่ผ่านมาศุลกากรจีนมีการตรวจสอบกระเป๋าของชาวจีนที่เดินทางกลับจากแหล่งช้อปปิ้งเข้มงวดมากขึ้น เช่น ญี่ปุ่นและฮ่องกง รวมทั้งปฏิรูปวิธีการเก็บภาษีสำหรับสินค้านำเข้าโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติ (บทความที่เกี่ยวข้อง)



     อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง แต่กลุ่มชนชั้นกลางจีนกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพในการบริโภคสูง ซึ่ง Boston Consulting Group คาดว่า ครอบครัวชาวจีนที่มีรายได้ 12,000 - 22,000 หยวนต่อเดือน จะเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านคนใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้เกิดตลาดบริโภค มูลค่าถึง 2 ล้านล้านหยวน ทั้งนี้ การปรับกลยุทธ์การตลาดของแบรนด์เนมในจีนก็ถือเป็นประสบการณ์สำหรับผู้ประกอบการไทยในจีนหรือผู้ประกอบการไทยที่สนใจบุกตลาดจีน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพตลาด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนการปรับปรุงนโยบายของรัฐบาลจีนได้อย่างทันท่วงที และเพื่อประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในจีนต่อไป





วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

จีนเตรียมปฏิรูป ภาษี E-Commerce ข้ามชาติ

ผู้ประกอบการไทยเตรียมตัวพร้อม!จีนเตรียมปฏิรูปภาษี E-Commerce ข้ามชาติ

      เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 59 สื่อจีน 21st Century Business Herald รายงานว่า จีนกำลังเตรียมปฏิรูปวิธีการเก็บภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติ ซึ่งคาดว่าจีนจะประกาศใช้ระเบียบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. 2559

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่จีนนำร่องเมืองทดลอง E-Commerce จีนมีการเก็บภาษีพัสดุสำหรับสินค้าที่นำเข้าโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติ แต่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีบริโภค โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มูลค่าสินค้าที่นำเข้าไม่เกิน 1,000 หยวนต่อครั้ง
- หากภาษีพัสดุต่ำกว่า 50 หยวน ไม่ต้องจ่ายภาษีพัสดุ
- ภาษีพัสดุของเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพส่วนบุคคลอยู่ที่ร้อยละ 50
- ภาษีพัสดุของเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า และนาฬิกาอยู่ที่ร้อยละ 20
- ภาษีพัสดุของสินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 10

ตามสื่อจีนรายงาน นโยบายภาษีใหม่ที่จีนจะประกาศใช้ มีสาระสำคัญดังนี้
- มูลค่าสินค้าที่นำเข้าห้ามเกิน 2,000 หยวนต่อครั้ง และห้ามเกิน 20,000 หยวนต่อปีต่อคน
- เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีบริโภคสำหรับสินค้านำเข้าโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ข้ามชาติ แต่ลดอัตราภาษีร้อยละ 30 (สำหรับสินค้าส่วนใหญ่ที่ไม่ต้องจ่ายภาษีบริโภค ภาษีที่ควรจ่าย=ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17%*70%=11.9% หากภาษีต่ำกว่า 50 หยวนก็ต้องจ่าย) และจีนจะปรับปรุงอัตราภาษีตามความเหมาะสม
- สำหรับสินค้านำเข้าที่มูลค่าต่ำกว่า 2,000 หยวน กำหนดอัตราภาษีศุลกากรเป็น 0 (ชั่วคราว) หากเกิน 2,000 หยวน ต้องจ่ายภาษีศุลกากรตามอัตราภาษีการค้าทั่วไป

ตารางเปรียบเทียบอัตราภาษี

ภาษี e-commerce จีน


     เดิมทีผู้ประกอบการสามารถแยกสินค้าเป็นหลายพัสดุ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี (อย่างถูกต้อง) แต่ภายใต้ระเบียบใหม่สังเก็ตได้ว่า สินค้าประเภทของใช้เด็กและอาหารต้องจ่ายภาษีเพิ่มร้อยละ 11.9 เครื่องสำอางที่ราคาต่ำกว่า 100 หยวนต้องจ่ายภาษีเพิ่มร้อยละ 32.9 ส่วนสินค้าประเภทเสื้อผ้าจะจ่ายภาษีลดลงร้อยละ 8.1 และเครื่องสำอางที่ราคา 100 หยวนขึ้นไปจะจ่ายภาษีลดลงร้อยละ 17.1

     เนื่องจากผลกระทบของระเบียบภาษีใหม่ดังกล่าว มีร้านค้าออนไลน์ในจีนเริ่มปรับเพิ่มราคาสินค้าที่ซื้อจากต่างประเทศแล้ว เช่น ขวดนม จุกขวดนม และผ้าอ้อมเด็ก เป็นต้น สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีการจำหน่ายสินค้ามายังจีนโดยผ่านช่องทาง E-Commerce ก็ควรคำนึงถึงระเบียบภาษีใหม่ของจีนด้วย